dwebsale โพสต์เมื่อ 2011-10-17 22:41:04

โรคลำไส้อักเสบติดต่อ หรือการติดเชื้อพาโวไวรัสในสุนัขคืออะไร ?

โรคลำไส้อักเสบติดต่อ หรือการติดเชื้อพาโวไวรัสในสุนัขคืออะไร ?


http://www.igetweb.com/www/minidoghome/private_folder/parvo.gif
ตั้งแต่ปี 2521 หรือปี ค.ศ. 1978 มีรายงานพบว่าสุนัขทุกอายุ ทุกเพศและทุกพันธุ์สามารถเป็นไวรัสที่สามารถติดต่อที่รุนแรงที่ทำลายระบบทาง เดินอาหาร เม็ดเลือดขาว และในสุนัขบางตัวจะมีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดจากการติดเชื้อพาโวไวรัส (parvovirus: CPV)ปัจจุบันเรียกโรคนี้ว่า โรคติดเชื้อพาโวไวรัสในสุนัข หรือโรคลำไส้อักเสบติดต่อ (canine parvoviral infection) ซึ่งมีการระบาดทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย
http://www.igetweb.com/www/minidoghome/private_folder/parvovirus.jpg
ลักษณะของเชื้อ canine parvovirus
เราจะทราบได้อย่างไร ?? ว่าสุนัขติดเชื้อพาโวไวรัส
http://www.igetweb.com/www/minidoghome/private_folder/parvoii.jpg

อาการเริ่มแรกของ สุนัขที่ติดเชื้อพาโวไวรัสคือ ซึม เบื่ออาหาร อาเจียนและท้องเสีย อย่างรุนแรง อุณหภูมิของร่างกายอาจจะสูงขึ้น อุณหภูมิของร่างกายที่วัดจากทวารหนักของสุนัข มีค่าประมาณ 101º - 102ºF อาการป่วยดังกล่าวมักจะปรากฎขึ้นภายหลังจากที่สุนัขได้รับเชื้อ ไวรัสได้ประมาณ 5-7 วัน ในระยะแรกของการติดเชื้อ(แสดงอาการแล้ว) อุจจาระของสุนัขจะมีลักษณะเหลวมีสีออกเทา หรือเหลืองเทา (yellow-gray) ในบางครั้งอาการแรกเริ่มสุนัขอาจจะถ่ายเหลวโดยมีเลือดปนออกมาได้ เมื่อสุนัขมีการถ่ายเหลว หรืออาเจียนอย่างรุนแรง ทำให้สุนัขสูญเสียน้ำและเกลือแร่ออกจากร่างกายอย่างรวดเร็ว สุนัขป่วยบางตัวจะมีอาการอาเจียนอย่างรุนแรงและถ่ายอุจจาระเป็นน้ำสีน้ำตาล จนถึงสีแดง(มีเลือดปน)พุ่งจนตายได้ ในสุนัขบางตัวอุจจาระอาจจะมีลักษณะเหลวเท่านั้นและสามารถฟื้นตัวจากการป่วย ได้ อาการป่วยมักพบว่า ลูกสุนัขจะแสดงอาการป่วยรุนแรงกว่าสุนัขโต

สุนัขมักจะตายภายใน 48-72 ชั่วโมงหลังจากที่เริ่มแสดงอาการ ลูกสุนัขมักจะตายด้วยภาวะช๊อค โดยมักจะเกิดขึ้นหลังการติดเชื้อประมาณ 1-2 วัน ในอดีตพบว่าลูกสุนัขอายุน้อยกว่า 5 เดือนมีอัตราการป่วยค่อนข้างสูงและประมาณ 2-3 เปอร์เซ็นต์จะตายจากการติดเชื้อนี้ ปัจจุบันเนื่องจากมีการฉีดวัคซีนกันอย่างแพร่หลาย อัตราการป่วยและอัตราการตายจากการติดเชื้อจึงลดลง เว้นแต่เจ้าของ สุนัขไม่ค่อยสนใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้กับสุนัขเป็นประจำ โอกาสป่วยเป็นโรคจึงมีมากขึ้น


อาการป่วยของสุนัขที่ติดเชื้อพาโวไวรัสอีกรูปแบบหนึ่งนอกเหนือไปจากการแสดงอาการของลำไส้อักเสบ คือ การเกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ(myocarditis) ในลูกสุนัขที่มีอายุน้อยกว่า 3 เดือน ลูกสุนัขที่ป่วยในรูปแบบนี้มักจะไม่ แสดงอาการท้องเสีย เนื่องจากเชื้อไวรัสจะมีการเจริญ หรือแบ่งตัวอย่างรวดเร็วในกล้ามเนื้อหัวใจของลูกสุนัข

การรักษาการโรคติดเชื้อพาโวไวรัสควรเริ่มทันทีเมื่อ วินิจฉัยว่าสัตว์แสดงอาการป่วย โดยเริ่มจากการให้สารน้ำเพื่อทดแทนภาวะการสูญเสียของเหลวและเกลือแร่ของร่าง กาย ควบคุมอาการอาเจียนและท้องเสียของสุนัขป่วยและป้องการติดเชื้อแทรกซ้อนด้วย การให้ยาปฏิชีวนะ

การป้องกันโรคลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัข

http://www.igetweb.com/www/minidoghome/private_folder/ax5.jpg
การป้องกันโรคลำ ไส้อักเสบจากการติดเชื้อพาโวไวรัสสามารถทำได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกัน โดยปกติในลูกสุนัขมักจะเริ่มต้นฉีดเมื่ออายุประมาณ 6-8 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะฉีดวัคซีนกระตุ้นอีกครั้งที่อายุประมาร 10-12 สัปดาห์(ห่างจากครั้งแรกประมาณ 1 เดือน) เพื่อให้มีระดับภูมิคุ้มกันสูงเพียงพอสำหรับการป้องกันโรค วัคซีนป้องกันโรคนี้มีทั้งแบบที่แยกเป็นวัคซีนชนิดนี้เพียงอย่างเดียว หรือรวมอยู่กับวัคซีนชนิดอื่น เช่น ไข้หัด ตับอักเสบ เลปโตสไปโรซิส หวัด เป็นต้น ซึ่งเรียกวัคซีนประเภทนี้ว่า วัคซีนรวม หลังจากนั้นจึงฉีดวัคซีนประจำทุกปี ซึ่งควรสอบถามสัตวแพทย์ถึงโปรแกรมการฉีดในลำดับต่อไปด้วย

ดังนั้นเจ้าของสุนัขควรปรึกษา หรือนำสัตว์ไปพบสัตวแพทย์ เมื่อพบว่า สุนัขมีอาการต่างๆ เหล่านี้

* พบมีสิ่งคัดหลั่งที่ผิดปกติออกจากจมูก ตา หรือช่องเปิดอื่นๆของร่างกาย
* สัตว์เลี้ยงไม่กินอาหาร มีน้ำหนักลดลง หรือกินน้ำมากขึ้นกว่าปกติ
* ขับถ่ายลำบาก หรือผิดปกติ หรือไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้
* พบมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ หรือพบมีความดุร้ายขึ้นอย่างกระทันหัน หรืออ่อนเพลีย
* พบมีก้อนผิดปกติ เดินกระโผลกกระเผลก ลุกหรือนอนลำบาก
* มีการสั่นหัวมากผิดปกติ เกา หรือเลีย หรือกัดแทะตามลำตัวมากผิดปกติ

ลูกสุนัขที่ติดเชื้อพาโวไวรัสที่ทำให้มีการอักเสบ ของกล้ามเนื้อหัวใจมักจะมีอาการซึมและไม่ยอมดูดนมและตายอย่างรวดเร็ว ลูกสุนัขบางตัวอาจตายในอีกหลายวันต่อมา การติดเชื้อในลักษณะนี้ ยังไม่มีวิธีการรักษาที่จำเพาะ ลูกสุนัขที่รอดชีวิตจะพบมีความเสียหายของหัวใจบางส่วน(ถาวร) ลูกสุนัขบางตัวอาจจะ ตายด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวในอีกหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนต่อมา หลังจากที่หายป่วย


ขอขอบคุณ minidoghome.com
หน้า: [1]
ดูในรูปแบบกติ: โรคลำไส้อักเสบติดต่อ หรือการติดเชื้อพาโวไวรัสในสุนัขคืออะไร ?